วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงการพระราชดำริฝนหลวงมีความสอดคล้องกับระบบเทคโนโลยีอย่างไร

            
                    โครงการพระราชดำริฝนหลวงมีความสอดคล้องกับระบบเทคโนโลยี  คือ เป็นโครงการที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ภัยแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเกษตร
            โดยโครงการพระราชดำริฝนหลวงเมื่อเปรียบเทียบกับองค์ประกอบ 5 ส่วนของเทคโนโลยีแล้ว มีความสอดคล้องดังนี้

1.ตัวป้อน (Input) คือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร จากความคลาดเคลื่อนของฤดูกาล โดยพบว่าในพื้นที่มีเมฆมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวก้นเป็นฝนได้
2.ทรัพยากรทางเทคโนโลยี (Resource) ที่ใช้ในระบบฝนเทียม มีดังนี้ คน ได้แก่ คนที่ปฏิบัติงานในโครงการฝนหลวง, ข้อมูลและสารสนเทศ ได้แก่ วิชาการอุตุนิยมวิทยาและการตัดแปลงสภาพอากาศ, วัสดุ ได้แก่ สารเคมีต่างๆที่ใช้ในระบบฝนหลวง, เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องบิน  เครื่องมือตรวจอากาศ พลังงาน ได้แก่ เชื้อเพลิงต่างๆ ฯลฯ
3.กระบวนการเทคโนโลยี(Process) ได้แก่ การศึกษาวิจัยจนได้วิธีการตัดแปลงสภาพอากาศจนทำให้ฝนตกได้ มีการปฏิบัติจนสามารถทำให้เกิดฝนได้จริง มีการวิเคราะห์และปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน
4.ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี (Constraints) คือ เงื่อนไขการปฏิบัติ ได้แก่ การเร่งให้เกิดเมฆ จะต้องกระทำในขณะที่ท้องฟ้าโปร่งหรือมีเมฆเดิมก่อตัวอยู่บ้าง และมีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 60 %
5.ผลผลิต และผลลัพธ์
ผลผลิต (Output) คือ ปฏิบัติการฝนหลวงกู้ภัยแล้งสัมฤทธิ์ผล สามารถตัดแปลงสภาพอากาศให้เมฆก่อตัวรวมกันเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่ประสบภัย แล้ง

ผลลัพธ์ (Outcome) คือเทคนิคการทำฝนหลวงจากการโจมตีเมฆอุ่นและเมฆเย็นพร้อมกันในกลุ่มเมฆเดียว กัน สามารถทำฝนหลวงมาบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับราษฏรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น